“ดวงตา” เป็นอวัยวะที่สำคัญที่มีผลต่อการดำเนินชีวิต ซึ่งอาศัยประสาทสัมผัสการมองเห็นเป็นหลัก เมื่ออายุมากขึ้น อวัยวะต่างๆในร่างกายจะมีประสิทธิภาพลดลง หรือ เกิดความเสื่อมตามวัย [1]
การดูแลรักษาดวงตา เพื่อช่วยชะลอความเสื่อมนั้นมีหลายวิธี ตั้งแต่ การป้องการดวงตาจากแสงแดด หรือ การตรวจสุขภาพดวงตาเป็นประจำ รวมถึง การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ อาจมีส่วนช่วยในการบำรุงดวงตาเช่นกัน [2]
สารอาหารที่มีประโยชน์ต่อดวงตา เช่น
โอเมก้า 3 (Omega 3)
เป็นกรดไขมันสำคัญในการรักษา ภาวะตาแห้ง พบมากในปลาทะเล เช่น ปลาแซลมอน ปลาซาร์ดีน หรือในผลไม้ เช่น ผลกีวี
ซีลีเนียม (Selenium)
เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอการเกิด ต้อกระจก พบในหอยนางรม หอยลาย ต้มไก่ และ เมล็ดทานตะวัน
สังกะสี (Zinc)
มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ และมีส่วนช่วยชะลอการดำเนิน โรคจอประสาทตาเสื่อม ให้ช้าลง พบใน หอยนางรม เนื้อสัตว์ และ ตับ
วิตามิน ดี
ช่วยชะลอการเกิด ต้อกระจก และ พบในเซลล์รับแสงที่จอตา พบได้ในน้ำมัน ธัญพืช น้ำมันดอกคำฝอย ข้าวโพด และถั่วเหลือง
วิตามิน เอ
ช่วยในการทำงานของ จอประสาทตา พบมากในผักจำพวก ชะอม คะน้า ยอดกระถิน ตำลึง ผักโขม และ ฟักทอง
วิตามิน บี (บี 1 และ บี 12)
ช่วยชะลอการเกิด ต้อกระจก พบมากในไข่ เนื้อสัตว์ ตับ และนมสด
วิตามิน ซี
ช่วยชะลอการเกิด ต้อกระจก พบมากในผลไม้ ได้แก่ ฝรั่ง ส้ม สับปะรด มะขามป้อม ส่วนผัก ได้แก่ ดอกกะหล่ำ บร็อคโคลี่
เบต้าแคโรทีน (β-Carotene)
มีบทบาทในการต้านอนุมูลอิสระ และช่วยการมองเห็นในเวลากลางคืน พบมากในผักผลไม้ที่มี สีเหลืองส้ม เช่น ผักบุ้ง แครอท มะละกอ ข้าวโพดอ่อน หน่อไม้ฝรั่ง
ลูทีน และ ซีแซนทีน
(Lutien & Zeaxanthin)
เป็นสารกลุ่มแคโรทีนอยด์ ซึ่งเป็นรงควัตถุที่ช่วยกรองรังสียูวี จากแสงแดด พบได้ในจุดรับภาพที่จอประสาทตา และ เลนส์ตา นอกจากนั้นยังมีคุณสมบัติช่วยต้านอนุมูลอิสระ ชะลอการเกิด โรคต้อกระจก และ โรคจอตาเสื่อม
ลูทีน และ ซีแซนทีน พบมากใน ไข่แดง และผักใบเขียว เช่น ผักคะน้า ปวยเล้ง บร็อคโคลี่ [3]
ร่ายกายมนุษย์ไม่สามารถสร้างสาร ลูทีน และซีแซนทีน เองได้ จำเป็นต้องได้รับจากสารอาหาร จากรายงานทางการศึกษาทางระบาดวิทยา ซึ่งมีการศึกษาในประชากรกลุ่มใหญ่ 12 ฉบับ พบว่าส่วนใหญ่ของกลุ่มคนที่รับประทานอาหารที่มีผัก และผลไม้ที่มี ลูทีน และซีแซนทีนสูงสุด หรือกลุ่มคนที่มีระดับลูทีน และซีนแซนทีนในเลือดสูงสุด (เปรียบเทียบกับกลุ่มที่มีซีนแซนทีนต่ำสุด)จะมีความเสี่ยงในการเกิด โรคจอประสาทตาเสื่อม น้อยกว่ามาก
นอกจากนี้การศึกษาทางคลินิก (การศึกษาในคน) 7 ฉบับพบว่า ลูทีน ในเลือด และในแมคคูลา สูงขึ้น และทำให้การจัดการมองเห็นต่างๆ ดีขึ้น มีแนวโน้มในการป้องกันการเกิด โรคจอประสาทตาเสื่อม [4]
สารแอนโทไซยาโนไซด์
(Anthocyanosides)
สารแอนโทไซยาโนไซด์ จาก บิลเบอร์รี่ (Bilberry) ช่วยป้องกัน ต้อกระจก จอประสาทตาเสื่อม และ โรคทางตาอื่นๆ นอกจากนี้ยังเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่ดีมาก ช่วยยับยั้งการเติมโตของเชื้อแบคทีเรีย และต่อต้านการอักเสบ
สารฟลาโวนอยด์
(Flavonoids)
พบในผลไม้ตระกูลเบอร์รี่รวม ประกอบด้วย
- บิลเบอร์รี่ (Bilberry) ช่วยบำรุงสายตา
- แครนเบอรี่ (Cranberry) ช่วยยับยั้งการจับตัวของแบคทีเรีย
- บูลเบอร์รี่ (Blueberry) มี วิตามิน C และวิตามิน E สูง ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ชะลอความเสื่อม
- ราสเบอร์รี่ (Raspberry) ต่อต้านอนุมูลอิสระ ชะลอความเสื่อม
- โกจิเบอร์รี่ (Goji Berry) ช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย
อ้างอิง
[1],[2] https://sriphat.med.cmu.ac.th/
[3],[4] https://pharmacy.mahidol.ac.th